วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Spider Model

แนวคิดตามกรอบโมเดล SPIDER MODEL
     เป็นการนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจไว้ใน 1 หน้ากระดาษ เพื่อให้เห็นภาพไอเดียธุรกิจที่ชัดเจนและเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพัฒนามาจาก Business Canvas* และ Lean Canvas การนำเสนอภายใต้กรอบโมเดลนี้จะทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนในการคิดแบบเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ และสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ
1. Product Risk
2. Customer Risk
3. Market Risk
4. Financial Risk รวมถึงการประเมินร่วมกับปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรค เพื่อวิเคราะห์ว่าแนวคิดที่ผู้ประกอบการนำเสนอมีความเป็นไปได้ (Feasibility) ภายใต้สถานการณ์ ณ ปัจจุบันมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามระดับของความเป็นไปได้ย่อมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักลงทุน แต่ละคนว่าสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ โมเดลนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการได้นำเสนอแนวคิดที่นอกจากจะเห็นภาพไอเดียของตัวธุรกิจแล้ว ยังครอบคลุม ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอย่างครบถ้วน รวมทั้งช่วยให้เห็นภาพด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วยคำอธิบายตามกรอบ SPIDER MODEL

สินค้าและบริการ : ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการที่ต้องการนำเสนอ 
        1. ปัญหาของลูกค้า (Problem) : เป็นการคิดโดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (ที่เรียกว่า Customer Development) โดยระบุปัญหาที่ลูกค้าเจอคืออะไร ผู้ประกอบการจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงขนาดของตลาดว่าใหญ่หรือเล็กเพียงใด ได้โดยประมาณการจากจำนวนของลูกค้าที่ต้องเจอกับปัญหาดังกล่าว
        2. ทางออกของปัญหา (Solution) : สินค้าของเราสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไร เป็นการนำเสนอทางเลือกในการออกจากปัญหาด้วยวิธีการที่แตกต่างจากสินค้าเดิมในตลาด เพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการตลาดและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต
        3. คณุค่าของสินค้าที่นำเสนอ (Unique Value Proposition) : คณุค่าหลักของสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอ จะเห็นว่าใช้คำว่า Unique คือเป็นคุณค่าหลักที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่งหรือสินค้าเดิมในตลาด
        4. กลุ่มเป้าหมาย (Target Customer) : การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมควักเงินซื้อสินค้าและบริการของเรา
        5. ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Channel) : วิธีการที่จะนำสินค้าให้เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการกระจายสินค้า ซึ่งอาจทำได้หลากหลายวิธี
        6. ทรัพยากรหลักที่มี (Key Resource) : ซึ่งเป็นได้ทั้ง คน ทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพยากรที่มีและใช้สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้กับธุรกิจได้ หรือเป็นทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนให้แผนธุรกิจดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการและนักลงทุน
        7. กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities) : เป็นการดำเนินงานหลักของธุรกิจที่จะทำให้เกิด Unique Value Proposition ในสินค้าและบริการ เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โมเดลนี้ทำงานก็ว่าได้
        8. กระแสรายได้ (Revenue Stream) : ช่องทางของรายได้ที่เข้ามา ให้เห็นความชัดเจนว่าธุรกิจจะมีรายได้จากช่องทางไหน อย่างไร และเท่าไร
        9. ต้นทุน (Cost Structure) : ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไรและเท่าไร ทั้งส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนผันแปร (Variable Cost)
       10. จุดคุ้มทุน (Break Event) : การประมาณการถึงจุดที่ธุรกิจสามารถทำกำไรได้เท่ากับต้นทุนที่ลงไป อาจเป็นจำนวนชิ้น หรือเป็นระยะเวลา เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนใช้เป็นแนวทางในการวางแผนด้านการเงินให้เหมาะสม
       11. 4 กรอบสุดท้าย คือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ เพื่อประเมินว่าธุรกิจมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่ต้องพบอย่างไรบ้าง 

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Dynamic Thinking

เครื่องมือการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาลาดับที่ 7 DYNAMIC THINKING : BOT. 

การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง 

(DRAWING BEHAVIOR OVER TIME GRAPHS)

       กราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง 
หมายถึง การคิดอย่างเป็นขั้นตอนด้วยแสดงพฤติกรรมของ
ตัวแปรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อมองเห็นทิศทาง แนวโน้ม รูปแบบการเปลี่ยนแปลง น าไปสู่การช่วยคิดสมมติฐานในการหาความสมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ

องค์ประกอบของกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง
1. แนวนอนเป็นมิติเวลา คือ สิ่งที่แสดงช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ปี พ.ศ., เดือน ปี, วัน
เวลา เป็นต้น
2. แนวตั้งเป็นมิติปริมาณ คือ สิ่งที่แสดงถึงสาระของประเด็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้น ๆ
 การเขียนกราฟแสดงพฤติกรรมภายใต้ช่วงเวลาหนึ่ง (Drawing Behavior Over Time Graphs)
         1. จุดเริ่มต้น หรือจุดปัญหาของสิ่งที่เกิดขึ้น 
         2. จุดก่อนหน้าปัจจุบัน (อดีต) 
         3. จุดปัจจุบัน 
         4. จุดอนาคต (เพื่อการทำนาย)

ตัวอย่าง
กราฟพฤติกรรมมาเรียนสายภายใต้ช่วงเวลา ๑ เดือน (Forest thinking)

           สรุปจากกราฟพฤติกรรมมาเรียนสายภายใต้ช่วงเวลา 1 เดือน โดยเกิดจากปัญหาได้แก่ การอ่านหนังสือ กาสนทนากับคนรัก การรับประทานอาหารกลางวันนอกบ้าน การเรียนในช่วงหัวค่า และการนอนดึก

ตัวอย่าง 
กราฟพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินภายใต้ช่วงเวลา 1 เดือน


ปิรามิด IPESA


ความหมายของปิรามิด IPESA      
             ปิรามิด IPESA หมายถึง แผนภาพรูปทรงสามเหลี่ยมที่แสดงถึงการเชื่อมโยงและ ความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบของกระบวนการคิด และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยประกอบด้วยประเด็นใน การคิดอย่างเป็นระบบ โดยมี 5 องค์ประกอบตามตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรก เป็น IPESA ได้แก่ I = Ideal Situation, P = Present Condition, E = Existing Problems, S=Solution Problems และ A=Aims of Solution  
รายละเอียดขององค์ประกอบปิรามิด IPESA  
            องค์ประกอบที่ 1 Ideal Situation คือ การเขียนหรือวิเคราะห์สังเคราะห์ความคิดจากสิ่งที่คาดหวัง สภาพที่พึงประสงค์ ของประเด็นนั้น ๆ ซึ่งได้แก่ การวิเคราะห์จากนโยบาย หรือแผนงานของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เช่น นโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้า หรือสิ่งที่เกิดจากหน่วยงาน นโยบายรัฐบาล เป็นต้น โดยควรมีการอ้างอิง และ ระบุแหล่งที่มาของความคาดหวังดังกล่าว   
            องค์ประกอบที่ 2 Present Condition คือ สภาพปัจจุบันของสิ่งที่ก าลังจะเกิดขึ้น โดยอาจเขียน เป็นล าดับข้อเพื่อเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่าง ๆ     
            องค์ประกอบที่ 3 Existing Problems คือ สภาพปัญหาของประเด็นที่ก าลังเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับสภาพปัจจุบันในองค์ประกอบที่ 2  
            องค์ประกอบที่ 4 Solution Problems คือ การแก้ไขปัญหา โดยเป็นประเด็นการแก้ไขนั้นต้อง สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
            องค์ประกอบที่ 5  Aims of Solution คือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไขปัญหา ว่าอยากให้ เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง

Ex. ตัวอย่างปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน


Ex. การมีวินัย กับการใส่ใจคนรอบข้าง



วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผังก้างปลา

ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) หมายถึง แผนภูมิมีลักษณะคล้ายปลาที่เหลือแต่ก้างโดยมุ่งเน้นผังวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุอย่างเป็นระบบ (Cause & Effect Diagram) เป็นแผนผังที่แสดง สมมติฐานของความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสาเหตุหลายๆสาเหตุที่ส่งผลต่อปัญหาหนึ่งปัญหา 

วิธีการสร้างแผนผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา    
สิ่งสำคัญในการสร้างแผนผัง คือ ต้องทำเป็นทีม เป็นกลุ่ม โดยใช้ขั้นตอน 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้   
1. กำหนดประโยคปัญหาที่หัวปลา   
2. กำหนดกลุ่มปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหานนั้ๆ   
3. ระดมสมองเพื่อหาสาเหตุในแต่ละปัจจัย   
4. หาสาเหตุหลักของปัญหา   
5. จัดลำดับความสำคัญของสาเหตุ   
6. ใช้แนวทางการปรับปรุงที่จำเป็น 

หลักการเขียนผังก้างปลาอย่างมีประสิทธิภาพ    
1. ควรวิเคราะห์ประเด็นโดยแตกก้างปลาให้หลากหลายอย่างรอบด้าน    
2. ควรจัดหมวดหมู่ของปัญหาและสาเหตุอย่างรอบด้าน   
3. หัวปลาควรหันทางด้านขวาเปรียบเสมือนทิศทางของลูกศรนำไปสู่ปัญหาที่เกิดขึ้น       
ผังก้างปลาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้    
ส่วนปัญหาหรอืผลลัพธ์ (Problem or Effect) ซึ่งจะแสดงอยู่ที่หัวปลา ส่วนสาเหตุ (Causes) จะสามารถแยกย่อยออกได้อีกเป็น 
1. ปัจจัย (Factors) ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหา (หัวปลา) 
2.  สาเหตุหลัก 
3.  สาเหตุย่อย        
ข้อดีของผังก้างปลา    
1. ไม่ต้องเสียเวลาแยกความคิดต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายของแต่ละสมาชิก แผนภูมิก้างปลาจะช่วยรวบรวม ความคิด
     ของสมาชิกในทีม    
2. ทำให้ทราบสาเหตุหลักๆและสาเหตุย่อย ๆ ของปัญหา     
3.ทำให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ถูกวิธีและรอบด้าน 


ตัวอย่าง

SWOT

ความหมายการวิเคราะห์ SWOT    
           SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายในโอกาสและปญัหาอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนถึงผลกระทบที่มีต่อศักยภาพในการทำงานของกิจกรรมและการแก้ปัญหา คำว่า SWOTเป็นตัวย่อที่ มีความหมาย ดังนี้ 

S มาจาก คำว่า Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบเป็นปัจจัยภายในที่มีผลดีต่อการดำเนินงานของทีมงานซึ่งทีมงานจะต้องค้นหาความสามารถที่โดดเด่นเพื่อนำมากำหนด เป็นกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลกัษณะการบริหารงานของทีมงาน เช่น ทีมงานภาครัฐนำมากลยุทธ์ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายหรือตามแผนที่วางไว้ ส่วนทีมงานธุรกิจนำจุดแข็งมา กำหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อให้มีความสามารถโดดเด่นเหนือคู่แข็งทางด้านการตลาด    
W มาจาก คำว่า Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบเป็นปัจจัยภายในที่มีผลกระทบหรือส่งผลเสียต่อการบริหารงานของทีมงาน เช่น ขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน เครื่องมือเครื่องใช้ขาดคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ทมีงานไม่สามารถ นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน 
O มาจาก คำว่า Opportunities หมายถึง โอกาสหรือปัจจัยภายนอกที่ เอื้ออำนวยให้การทำงานของทีมงานบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งได้แก่สภาพแวดล้อมที่นำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่การดำเนินงาน    
T มาจาก คำว่า Threats หมายถึง อุปสรรคหรือข้อจำกัด ที่เป็นภัยคุกคามต่อการ ดำเนินงานของทีมงาน เป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากการควบคุมและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางป้องกันให้ได้รับผลกระทบหรือมีความเสียหายน้อยลง กรอบและขั้นตอนในการวิเคราะห์ SWOT    
            สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงสำหรับการวิเคราะห์ SWOT คือ การกำหนดกรอบหรือ กำหนดประเด็น เพื่อให้การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคได้อย่างถูกต้อง หลักในการกำหนดกรอบหรือกำหนดประเด็นวิเคราะห์ SWOT  ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจหรือธรรมชาติ ของทีมงานนั้นๆซึ่งมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ


  
ประเด็นสำหรบัการวิเคราะห์ 
1. เอกลักษณ์ของทีมงาน 
2. ขอบเขตของกิจกรรม 
3. แนวโน้มและสภาพแวดล้อมที่จะกลายเป็นโอกาสและอุปสรรค 

4. โครงสร้างของกจิกรรม
5. รูปแบบการเติบโตตามที่คาดหวังและตั้งเป้าหมาย
ข้อควรคำนึง
1. ทีมงานต้องกำหนดก่อนว่า ทีมงานต้องการที่จะทำอะไร
2. การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคต้องกระทำในช่วงเวลาขณะนั้น
3. ทีมงานต้องกำหนดปัจจัยหลัก (key success factors) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ถูกต้อง
4. ทีมงานต้องประเมินความสามารถของตนให้ถูกต้อง  
ข้อควรระวัง
1. การระบุจุดอ่อนต้องวิเคราะห์อย่างซื่อสัตย์
2. การจัดการกับกลไกการป้องกันตนเองต้องกระทำอย่างรอบคอบ
3. แนวโน้มการขยายจุดแข็งที่เกินความเป็นจริง
4. ความใกล้ชิดกับสถานการณ์ทำให้มองสถานการณ์ของทีมงานไม่ชัดเจน
5. การกำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลต้องระบุให้ชัดเจน
6. ข้อมูลไม่เพียงพอ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกอาจเป็นโอกาส รืออุปสรรคก็ได้  
ขั้นตอนและกระบวนการวิเคราะห์SWOT    
            การกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนสามารถสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับทีมงานธุรกิจ และช่วยให้การบริหารงานบรรลุความสำเรจ็ตามเป้าหมาย ที่วางไว้สำหรับทีมงาน ได้แก่ 
1.การประเมนิสภาพแวดล้อมภายในทีมงาน เป็นการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและ ความสามารถภายในทีม
  งานทุก ๆ ด้านทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการ
  บริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อระบุจุด
  แข็งและจุดอ่อนของทีมงาน  
2. การประเมนิสภาพแวดลอ้มภายนอก การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกทีมงานนั้น สามารถค้นหาโอกาสและ
    อุปสรรคในการการดาเนินงานของทีมงานที่ได้รับผลกระทบ เป็นการ วิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบ
    ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการของ ทีมงาน และสามารถฉกฉวยข้อดีมาเสริมสร้างให้หน่วย
    งานเข็มแข็ง ขึ้นได้ สำหรับอุปสรรคทาง สภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกทีมงานใดที่สามารถ
    ส่งผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทีมงานจำต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพทีม
    งานให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้  
3.วิเคราะห์สถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค
   จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกนอกแล้ว ให้นำจุดแข็งจุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ
   โอกาส-อุปสรรค จากปจัจัยภายนอกเพื่อดูว่าทีมงานกำลังเผชิญ สถานการณ์ เช่น สถานการณ์ที่เลวร้าย    
   สถานการณ์ที่ทมีงานมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบเป็นสถานการณ์ทพี่ึ่งปรารถนาหรือสถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการ
    ที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออานวยต่อการ ดำนินงาน แต่ตัวทีมงานมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ เมื่อ
    ทราบสถานการณ์ที่ทีมงานกำลัง เผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ ก็สามารถที่จะนำสถานการณ์นั้น 
    มาก    กำหนดเป็นกลยุทธ์ในการ บริหารเพื่อให้ทีมงานเกิดการได้เปรียบ ทำให้ทีมงานบรรลุผลสำเร็จ หรือลด 
    ผลกระทบทำให้เกิดความ เสียหายน้อยลง
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT  
             วิเคราะห์SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในทีมงาน ซึ่งปัจจัยแต่ละด้านจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของทีมงานอย่างไร เช่น
1. จุดแข็งของทีมงาน จะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
2. จุดอ่อนของทีมงาน จะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน
3. โอกาสทางสภาพแวดล้อม จะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายทีมงาน
4. อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม จะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย  องทีมงาน

ผังความคิด (Mind Map)

   Mind Map  คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษโดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัดๆเรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมอง ให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้าเนื่องจะเห็นเป็นภาพรวมและเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรองและความคิดย่อยที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน”  ผังความคิด (Mind Map)   
ขั้นตอนการสร้าง Mind Map    
1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ 
2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สมัพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบๆ 
3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยทสี่ัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ 
4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด 
5. เขียนคำสำคัญ (Key word) โดยใช้คำ/ประโยคสั้นๆบนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน 
6. กรณีใช้สีทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน 
7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ เขียนคำหลักหรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลางโยงไปยังประเด็นรองรอบ ๆ 
    ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น 

ข้อดีของการทำแผนที่ความคิด 
1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้างๆของหัวข้อใหญ่หรือขอบเขตของเรื่อง 
2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง 
3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน 
4. กระตุ้นให้คดิแก้ไขปัญหา ระดมสมองเป็นทีม โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ๆที่สร้างสรรค์ 
5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

แนวทางการเขียน mind map  
1. เริ่มที่ตรงกลางด้วยรูปหรือหัวข้อใช้สีอย่างน้อย 3 สี  
2. ใช้รูป, สัญลกัษณ์, รหัส, ความหนา ตลอดที่ทำ mind map  
3. ให้เขียนคำสำคัญโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก  
4. คำแต่ละคำหรือรูปแต่ละรูป จะต้องอยู่บนเส้นของตัวเอง  
5. เส้นแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตรงกลางภาพ เส้นที่อยู่ตรงกลางจะ มีขนาดหนาและจะยิ่ง
    บางลงเมื่อห่างจากศูนย์กลาง  
6. ขนาดความยาวของเส้นที่ลากยาวเท่ากับคำหรือรูป  
7. ใช้สี รหัสส่วนตัว ตลอดที่ทำ mind map  
8. พัฒนารูปแบบ mind map ของตัวเอง  
9. ใช้วิธีเน้นข้อความ และแสดงความเป็นกลุ่มก้อนใน mind map 
10. การสื่อความหมายผังความคิด (mind map)  ให้เข้าใจง่ายโดยการแบ่งความส าคัญเริ่ม จากตรงกลาง ใช้การ
      เรียงลำดับตัวเลข หรือใช้เส้นร่างเพื่อรักษาความเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละกิ่ง

ผังความคิด ซึ่งสามารถเขียนได้ด้วยมือ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ  โปรแกรม XMIND version 7.0 เป็นโปรแกรม Mind Map Open source ที่ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ สามารถ download ได้ที่เว็บไซต์ www.xmind.net มีรุ่นที่น่าสนใจคือรุ่น Portable สามารถน าไปใช้งานผ่าน การเสียบ Handy drive USB โดยไม่ต้องมีการติดตั้งลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม XMIND สามารถน าไปใช้งานได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.xmind.net/download/win/ นอกจากนี้ยังสามารถเขียนด้วยโปรแกรมการน าเสนอ ออนไลน์ด้วย โปรแกรม Prezi ที่ http://www.prezi.com/ 



Prezi

โปรแกรม Prezi  คืออะไร     
Prezi เป็นโปรแกรมการนำเสนอออนไลน์และประยุกต์ในการเขียนผังความคิดที่มีเอกลักษณ์เด่นสุดคือการ ซูมเข้าซูมออกได้ นอกจากนี้ ยังมีลักษณะพิเศษอื่นๆดังเช่น Prezi เป็น Non-linear presentation นั่นคือการเดินทางของงานนำเสนอไม่ได้เป็นเส้นตรงที่มุ่งไปข้างหน้าหรือถอยหลังทีละสไลด์ต่อไป Prezi จะซูมเข้า ซูมออก กระโดดไปโน่น กระโดดไปนี่แล้วแต่เราออกแบบ Prezi สามารถใส่รูปภาพ เสียง วิดีโอ และไฟล์ PDF  PPT เป็นต้น Prezi สามารถแก้ไขได้ โดยวิธีออนไลน์ (ฟรี) บนเว็บ http://prezi.com ขณะเดียวกันก็สามารถ นำเสนอแบบ online ได้ หรือสามารถดาวน์โหลดลงมาเพื่อนนำเสนอแบบ  offline และไฟล์ที่ได้จะมีนามสกุล .exe ซึ่งเปิดได้ กับทุกเครื่อง
โปรแกรม Prezi  ต่างจากโปรแกรมPower Point    
1. PowerPoint นำเสนอแบบ linear คือหน้าที่หนึ่ง หน้าที่สอง หน้าที่สาม...ไปเรื่อยๆ 
2. Prezi นำเสนอแบบ zoom คือไม่ได้ไปหน้าหนึ่ง หน้าสองตามลำดับ แต่สามารถกระโดด ไปยังข้อมูลที่เราต้อง
    การจะนำเสนอได้ทันที   
3. Prezi สามารถสร้างงานนำเสนอออนไลน์ได้เลยหรือถ้าไม่สะดวกก็สามารถก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้ที่คอมตัว
     เองก็ได้   
4.  Prezi แทรกรูปภาพได้ เสียงก็ได้ วิดีโอก็ได้ด้วย   
5.  ไม่ต้องกังวลว่าจะเปิดไม่ได้ หากไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพราะไฟล์งานจะถูกแปลงเป็น .exe สามารถเปิด
      ได้บนคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง






การวิเคราะห์ 5W2H

           เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาด้วย 5w2H คือ การตั้งคำถามในการสำรวจปัญหาและแนวทางการแก้ไขโดยการท้าทายด้วยคำถาม 5W2H จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหาได้เกือบทุกรูปแบบโดยเป็นการคิดวิเคราะห์ (Analysis Thinking) ที่ใช้ความสามารถในการจำแนกแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของเรื่องราวหรือเหตุการณ์นำมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบต่างๆเหล่านั้น เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความเป็นจริงหรือที่เป็นสิ่งที่สำคัญจากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบเรียบเรียงใหม่ให้ง่ายแก่ต่อการทำความเข้าใจ
องค์ประกอบของ 5W2H  
1. Who ใคร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบในเรื่องนั้นมีใครบ้าง   
2. What ทำอะไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง   
3. Where ที่ไหน คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ ทำนั้นอยู่ที่ไหน   
4. When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุดเหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวันเดือนปีใด
5. Why ทำไม คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้นเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
6. How อย่างไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร สิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง  
7. How Much เท่าไร คือการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย งบประมาณเท่าไหร่    
ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์  5W2H  
1. ทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์นั้น   
2. ใช้เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา   
3. ทำให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง   
4. ทำให้เราสามารถประมาณความน่าจะเป็นได้ 
ตัวอย่างการใช้ 5W2H ในการวิเคราะห์ข้อมูล   
      เริ่มต้นก็คือ เราต้องตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบในแต่ละหัวข้อคำถาม โดยการตั้งคำถามอาจไม่จำเป็นต้องเรียงข้อของคำถาม แต่พิจารณาจากความเหมาะสม การยกตัวอย่างอาจจะ ยังไม่สมบูรณ์เท่าไร แต่จุดประสงค์คือต้องการให้เห็นหรือเข้าใจแนวความคิดในการตั้งคำถามเท่านั้น เราจะยกตัวอย่างการเริ่มต้นทำธุรกิจ   
คำถามแรก W  - Who ตัวแรก – ใครคือลกูค้าของเรา? ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเรา? เราควรระบุกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้ เช่น อายุ, เพศ, การศึกษา, ศาสนา, อาชีพ, เงินเดือน, ที่อยู่อาศัย, ขนาดครัวเรือน พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยทำให้เราสามารถ ระบุกลุ่มเป้าหมายลูกค้าของเราได้ชัดเจนเพื่อที่เราจะสามารถวางแผนการผลิต แผนการตลาดหรือแผนการสร้างสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้อง
คำถามที่สอง W – What – เราต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ? เราควรระบุรูปแบบของสินค้าหรือบริการของเราได้ว่ารูปแบบไหนที่ลูกค้าของเราต้องการและเราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราได้ และอะไรที่จะทำให้เราสามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของเราจากคู่แข่งของเราได้   
คำถามที่สาม W – Where – ลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน? เราควรระบุได้ว่าลูกค้าของเราอยู่ที่ไหนบ้างและที่ไหนคือที่ที่เราจะสามารถนำเสนอสินค้าของเราให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย   
คำถามที่สี่ W – When – เมื่อไรที่ลูกค้าของเรามีความต้องการสินค้า? เราควรระบุได้ว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องการสินค้าหรือบริการของเราเมื่อไรในช่วงเวลาไหนและต้องการบ่อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถ
กำหนดและวางแผนต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าของ เราได้อย่างถูกต้อง   
คำถามที่ห้า W – Why – ท าไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราต้องซื้อหรือใช้บริการของเรา? เราควรระบุได้ว่าทำไมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราจะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา แทนที่จะซื้อจากคู่แข่งของเราหรือทำไมเราต้องเข้ามาทำธุรกิจนี้ 
คำถามที่หก H – How – เราจะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเราได้อย่างไร? เราควรระบุได้ว่า เราจะสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้ด้วยวิธีไหน อย่างไร ซึ่งเราควรมีการวางแผนและกำหนด วิธีการที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าของเราได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด   
คำถามสุดท้าย H - How much – เราประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายในการตอบโจทย์ของการ แก้ปัญหาหรือตามวัตถุประสงค์เท่าไร




แผนผังต้นไม้

แผนผังต้นไม้ (Tree Diagrams)  
       แผนผังต้นไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams) หรือ Dendrograms เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด (ที่อยู่ในรูปของ "บัตรความคิด") คือการประยุกต์วิธีการที่แรกเริ่ม พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่งานในวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) วิธีนี้เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น เป้า (Target) เป้าหมาย (Goal) หรือผลงาน (Result)) และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ โดยนำมาจัดเรียงให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มี "บัตรความคิด" เป็น กิ่ง ก้าน สาขา ดอก ใบ ทำให้มองเห็นภาพแผนผังระบบที่เป็นระบบหลาย ๆ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน

ข้อดีของแผนผังต้นไม้
ข้อดีหลักของแผนผังต้นไม้ มีดังต่อไปนี้
     1. แผนผังทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นระบบหรือเป็นตัวกลางในการบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งถูกพัฒนา
        อย่างมีระบบและมีเหตุผล ทำให้รายการที่สำคัญอันใดอันหนึ่งไม่ตกหล่นไป
     2. แผนผังทำให้การตกลงภายในสมาชิกกลุ่มสะดวกขึ้น
     3. แผนผังนี้จะบ่งชี้และแสดงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน

วิธีการสร้างแผนผังต้นไม้
สาธิตด้วยกรณีการสังเคราะห์ กลยุทธ์ มาตรการ วิธีการ
     1. กำหนดหัวข้อ (เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์) ของการระดมสมอง เช่น "จะเพิ่มยอดขายสินค้า A ได้อย่างไร"
        เขียนไว้ที่ขอบด้านซ้ายตรงระดับกึ่งกลางของกระดาษรองพื้น ขนาดประมาณ A0
     2. ระดมสมองโดยใช้เทคนิค "บัตรความคิด" เพื่อให้ได้ วิธีการ มาตรการ หรือกลยุทธ์ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุ
         ประสงค์ (เพิ่มยอดขาย) ให้ได้จำนวนความคิดให้มากที่สุด
     3. รวบรวมหลาย ๆ วิธีการ (ใบ) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง มาตรการ (สาขา) อาจต้องเขียน
         บัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกมาตรการนั้นเพิ่มเติมลงไป
     4. รวบรวมหลาย ๆ มาตรการ (สาขา) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์ (ก้าน) อาจต้อง
         เขียนบัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกกลยุทธ์นั้นเพิ่มเติมลงไป
     5. รวบรวมหลาย ๆ กลยุทธ์ (ก้าน) ที่มีลักษณะร่วมกันให้อยู่ด้วยกัน ถือเป็นหนึ่ง แนวทาง (กิ่ง) อาจต้องเขียน
         บัตรขึ้นใหม่เพื่อแสดงชื่อเรียกแนวทางนั้นเพิ่มเติมลงไป
     6. จัดเรียงให้มีรูปร่างคล้ายกับต้นไม้ โดยมี เป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ หรือ ทิศทาง เป็น (ลำต้น)





สรุปแผนผังต้นไม้
    1. แผนผังต้นไม้ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams)
    2. แผนผังต้นไม้เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ และ ดำเนินการพัฒนา
        กลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ

สรุปข้อดีของแผนผังต้นไม้
    1. ทำให้มีกลยุทธ์สำหรับแก้ปัญหาที่เป็นระบบ
    2. ทำให้การตกลงภายในสมาชิกกลุ่มสะดวกขึ้น 
    3. แสดงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน

PDCA

ความหมายของ PDCA

PDCA  คือ  วงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์  ซิวฮาร์ท(Walter Shewhart )ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรมและต่อมาวงจรนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยค้นหาปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า “วงจรเด็มมิ่ง” ต่อมาพบว่า แนวคิดในการใช้วงจร PDCA นั้นสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก  PDCA เป็นอักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ 4 คำคือ
P Plan       =     วางแผน
D : Do         =     ปฏิบัติตามแผน
C : Check     =     ตรวจสอบ / ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Action    =     ปรับปรุงแก้ไขดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน





Plan (วางแผน)
หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้

ฉะนั้น P เราจะต้องมีแผน

       1.วัตถุประสงค์เหมาะสม และสอดคลองกับแผนของคณะ/พันธกิจหรือไม่
       2.มีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือไม่ (รายบคคล/คณะบคคล) 
       3.ระยะเวลาดำเนินการที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่
       4.งบประมาณที่กำหนดเหมาะสมหรือไม่
       5.มีการเสนอเพื่อขออนุมัติก่อนดำเนินการหรือไม่


Do (ปฏิบัติตามแผน)
หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ เช่น คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ ซึ่งคณะเราก็มีการจัดตั้งไว้อยู่แล้ว  จะต้องมีวิธีการ ดำเนินการ 
D เราต้องมีผลการดำเนินการตามแผน
      1. มีการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการหรือไม่
      2. มีผู้รับผิดชอบดำเนินการได้ตามกำหนดไว้หรือไม่
      3.มีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงไร
      4.สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดได้หรือไม่
      5.สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน)
หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
C เราต้องมีการประเมินการดำเนินการ
       1.ได้มีการกำหนดวิธี/รูปแบบการประเมินหรือไม่
       2.มีรูปแบบของการประเมินเหมาะสมหรือไม่
       3. ผลของการประเมินตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
       4.ปัญหา/จุดอ่อนที่พบในการดำเนินการมีหรือไม่
       5.ข้อดี/จุดแข็ง ของการดำเนินการมีหรือไม่

Act (ปรับปรุงแก้ไข)
หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในปีต่อไป
A เราต้องมีการปรับปรุงตามผลการประเมิน
        1.มีการระดมสมองเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา/จุดอ่อนที่ค้นพบ
        2.มีการระดมสมองเพื่อหาทางเสริมข้อดี/จุดแข็งเพิ่มขึ้น
        3.มีการนำผลที่ได้จากการระดมสมอง เสนอคณะกรรมการประกันคุณภาพของคณะเพื่อพิจารณา   
           สำหรับใช้วางแผนครั้งต่อไป
        4.กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนครั้งต่อไป
        5.กำหนดผู้รับผิดชอบไปดำเนินจัดทำแผนครั้งต่อไป